Hi Phonics

blog content เหลือ

เป้าหมายการพัฒนาระดับความสามารถของผู้เรียน

กระทรวงศึกษาธิการยังมีเป้าหมายพัฒนาระดับความสามารถของผู้เรียนภาษาอังกฤษจากระดับเริ่มต้นไปสู่ระดับกลาง และพัฒนาจนถึงระดับสูง  โดยมีกระบวนการพัฒนาขีดความสามารถทางภาษาอังกฤษของผู้เรียน ดังนี้

  1. ความสามารถทางภาษาอังกฤษระดับเริ่มต้น (Beginner)
  2. ความสามารถทางภาษาอังกฤษระดับกลาง (Intermediate)
  3. ความสามารถทางภาษาอังกฤษระดับสูง (Advanced)

หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อยกระดับและพัฒนาคุณภาพ

รูปแบบการจัดหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อยกระดับและพัฒนาคุณภาพความสามารถทางภาษาอังกฤษของผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ ดังนี้

  1. หลักสูตรยกระดับภาษาอังกฤษสำหรับทุกโรงเรียน General English Program (GEP)
  2. หลักสูตรภาษาอังกฤษแบบเข้ม Intensive English Program (IEP)
  3. หลักสูตรภาษาอังกฤษนานาชาติ International Program (IP) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ แบบเข้มและมีการจัดการเรียนการสอนรายวิชาอื่นๆ เป็นภาษาอังกฤษด้วย

คู่มือแนวทางการพัฒนาภาษาอังกฤษแบบเข้มข้น 3 ระดับสู่สากล นี้ ได้อธิบายแนวทางการพัฒนาภาษาอังกฤษตามบริบทของแต่ละโรงเรียน ในมิติของคุณภาพผู้เรียนที่ต้องการ คุณสมบัติครูผู้สอน ระบบหลักสูตร และสื่อการสอน คู่มือฯนี้มาจากการปรับปรุง พัฒนา นำระบบหลักสูตรภาษาอังกฤษที่มีมาตรฐานนานาชาติ สื่อการสอน การวัดผลประเมินผลผู้เรียนตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษา (Common European Framework References : CEFR) โดยได้มีการพิจารณากลั่นกรองจากผู้เชี่ยวชาญและองค์กรภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อาทิ UK Curriculum, International Baccalaureate, USA, Australia

หลักสูตรการศึกษาแห่งชาติของประเทศอังกฤษ

ภาพรวมหลักสูตรของโรงเรียน “ขั้นพื้นฐาน” ประกอบด้วย “หลักสูตรแห่งชาติ” (National Curriculum) และหลักสูตรการศึกษาด้านศาสนาและเพศศึกษา

หลักสูตรแห่งชาติคือชุดวิชาและมาตรฐานที่โรงเรียนรัฐบาลประถมและมัธยมใช้ เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้สิ่งเดียวกัน ครอบคลุมเนื้อหาที่สอนและมาตรฐานที่เด็กควรเข้าถึงในแต่ละวิชา. สถานศึกษาอื่นๆ เช่นโรงเรียนเอกชนไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามหลักสูตรแห่งชาตินี้

หลักสูตรการศึกษาของประเทศอเมริกา

หลักสูตรการศึกษาของอเมริกาในแต่ละรัฐจะแตกต่างกัน แต่ในภาพรวมของหลักสูตรเป็นไปตามมาตรฐานของรัฐแกนกลางของอเมริกา (American Common Core State Standards) ในวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์-ภูมิศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จึงทำให้มีอิสระในการปรับแต่งหลักสูตรตามความต้องการของแต่ละบุคคลมากขึ้น นักเรียนมีกิจกรรมร่วมหลักสูตรที่หลากหลายเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขามีโอกาสพัฒนาอย่างเต็มที่ตามลักษณะส่วนบุคคล

หลักสูตรการศึกษาของประเทศออสเตรเลีย

หลักสูตรของออสเตรเลีย ‘ชั้นพื้นฐานถึงมัธยมปีที่ 4’ (Foundation to Year 10 หรือ F-10) ตั้งแต่อนุบาลถึงมัธยม 4 ซึ่งยังถือว่าเป็นมัธยมต้น Year 11-12 เป็นมัธยมปลาย หลักสูตรนี้เริ่มใช้ในปี 2015 และ ปี2020 มีการปรับปรุงเพื่อนำไปใช้ในปี 2022

เนื้อหาหลักสูตร แบ่งเป็น 3 ส่วน

1) วิชาหลัก 8 วิชา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม สุขศึกษาและพลศึกษา เทคโนโลยี  ศิลปะ และภาษาอื่น

2) ความสามารถทั่วไป 7 ประการ ได้แก่ การรู้หนังสือ การคิดเลข ความสามารถด้านเทคโนโลยี การคิดสร้างสรรค์ ความเข้าใจในตัวเองและสังคม ความเข้าใจด้านจริยธรรม และความเข้าใจวัฒนธรรมอื่น

3) เรียนรู้ข้ามหลักสูตร เป็นการเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของคนออสเตรเลีย ชาวอะบอริจินและชาวเกาะช่องแคบทอร์เรส

ทั้งอังกฤษ อเมริกา และออสเตรเลีย กำหนดให้เริ่มสอน Phonics ตั้งแต่เด็กเข้าเรียน ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับคู่มือแนวทางการพัฒนาภาษาอังกฤษแบบเข้มข้นนี้ ทางโรงเรียนควรได้มีการจัดการสอนโฟนิคส์เพื่อปูพื้นฐานที่แข็งแรงในการเรียนภาษาอังกฤษได้อย่างประสบความสำเร็จ

สอนโฟนิคส์ที่โรงเรียน
แก้ปัญหานักเรียนอ่านภาษาอังกฤษไม่ออก

การสอนวิธีอ่านภาษาอังกฤษแบบโฟนิคส์จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องจัดการให้มีการสอนในทุกโรงเรียนอย่างเร่งด่วน เพื่อ…

     – แก้ปัญหานักเรียนอ่านภาษาอังกฤษไม่ออก แม้ว่านักเรียนอยู่ในมัธยมต้นเรายังสามารถสอนโฟนิคส์ได้เพราะการเรียนรู้โฟนิคส์เป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ปัญหานักเรียนที่มีผลการเรียนภาษาอังกฤษต่ำ

     – เมื่อนักเรียนสามารถอ่านออกแล้ว จะช่วยทำให้การเรียนรู้ด้านความหมาย หรือไวยากรณ์ง่ายขึ้น การเรียนภาษาอังกฤษมีประสิทธิภาพมากขึ้น และท้ายที่สุดช่วยให้สามารถอ่านจับใจความได้ซึ่งเป็นเป้าหมายท้ายสุดของการอ่าน   และทำให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีในการเรียนภาษาอังกฤษ

     – บรรลุความคาดหวังผู้ปกครองนักเรียน และประเทศชาติที่เห็นลูกหลานหรือเยาวชนของชาติสามารถอ่านออกเขียนภาษาอังกฤษได้ด้วยตนเอง

     – แสดงถึงศักยภาพ วิสัยทัศน์ และการพัฒนาเปลี่ยนแปลงการสอนภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพที่ทั่วโลกได้พิสูจน์แล้ว

 

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551) เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนการสอนที่โรงเรียน

สาระสําคัญของหลักสูตร มีดังนี้

  1. ภาษาเพื่อการสื่อสาร เพื่อฟัง-พูด-อ่าน-เขียน แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร แสดงความรู้สึกและความคิดเห็น ตีความ นําเสนอข้อมูล ความคิดรวบยอดและความคิดเห็นในเรื่องตางๆ และสร้างความสัมพันธระหว่างบุคคลอยางเหมาะสม
  2. ภาษาและวัฒนธรรม ใช้ภาษาอังกฤษในวัฒนธรรมไทยอย่างเหมาะสม
  3. ภาษากับความสัมพันธกับกลุ่มสาระการเรียนรูอื่น เป็นการใช้ภาษาอังกฤษในการเชื่อมโยงความรู้การเรียนรู้อื่นๆเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหาความรู้และเปิดโลกทัศนของตน
  4. ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชน สังคมและโลก เป็นการใช้ภาษาอังกฤษในห้องเรียน นอกห้องเรียน ในชุมชน สังคม และนานาชาติ ภาษาอังกฤษจึงเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ ประกอบอาชีพ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก

English Programs

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 จนถึงปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ดำเนินโครงการพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค (Education Hub) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการห้องเรียนภาษาอังกฤษ โดยใช้หลักสูตรหลัก ดังนี้

1 หลักสูตรนานาชาติ International Program (IP)

2 หลักสูตรภาษาอังกฤษของกระทรวงศึกษาธิการ English Program (EP)

3 หลักสูตรภาษาอังกฤษของกระทรวงศึกษาธิการ Mini English Program (MEP)

นอกจากนี้บางโรงเรียนได้จัดให้มีห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษแบบเข้มข้นหรือเรียกว่า Intensive English Program (IEP)

 

 

นอกจากนี้ ศึกษานิเทศก์ได้ให้คำแนะนำโรงเรียนให้สอนโฟนิคส์ เนื่องจากผลวิจัยสอนโฟนิคส์ในชั้นประถมโรงเรียนไทย พบว่า

  • นักเรียนที่ได้รับการสอนโฟนิคส์มีการพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
  • นักเรียนที่ได้รับการสอนโฟนิคส์จะมีพัฒนาการอ่านได้ดีกว่านักเรียนที่ไม่ได้เรียนโฟนิคส์
  • นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการสอนโฟนิคส์อยู่ในระดับสูง

ผลการวิจัยทั่วโลกเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ได้พบว่าการสอนโฟนิคส์ที่เป็นระบบอย่างชัดเจนเป็นทางลัดที่ช่วยให้นักเรียนอ่านภาษาอังกฤษได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องท่องจำแบบเดิมๆ

นักเรียนที่เรียนโฟนิคส์จะสามารถอ่านภาษาอังกฤษได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องท่องจำ  เมื่อนักเรียนอ่านได้แล้วจึงเป็นการง่ายในการสอนความหมายหรือไวยากรณ์ในลำดับถัดไป ซึ่งทำให้การเรียนภาษาอังกฤษมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

You cannot copy content of this page