Hi Phonics

การวิจัยโฟนิกส์ กับการพัฒนาทักษะการอ่านของเด็ก

การวิจัยโฟนิกส์

ในยุคที่การสอนภาษาอังกฤษมีความสำคัญมากขึ้น โฟนิกส์ (Phonics) กลายเป็นหัวข้อที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในวงการศึกษา โฟนิกส์คือกระบวนการสอนที่เน้นการเชื่อมโยงระหว่างเสียง (Phonemes) กับตัวอักษร (Graphemes) ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของการอ่านออกเสียงอย่างถูกต้อง การสอนโฟนิกส์ที่มีประสิทธิภาพสามารถช่วยให้เด็กเรียนรู้ที่จะจดจำและอ่านคำศัพท์ได้อย่างมั่นใจ ทั้งนี้ การวิจัยโฟนิกส์ จำนวนมากที่ดำเนินการในประเทศต่างๆ ได้ยืนยันถึงประสิทธิผลของการสอนโฟนิกส์

บทความนี้จะนำเสนอผลการวิจัยโฟนิกส์ที่สำคัญทั้งจากต่างประเทศและประเทศไทยเกี่ยวกับโฟนิกส์ ซึ่งไม่เพียงแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการสอนโฟนิกส์ในการพัฒนาทักษะการอ่านของเด็ก แต่ยังชี้ให้เห็นถึงวิธีการที่เหมาะสมในการนำโฟนิกส์ไปใช้ในห้องเรียน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของเด็กนักเรียน

 

การวิจัยโฟนิกส์ – ในต่างประเทศ

 

ในประเทศอเมริกาได้มีการวิจัยเกี่ยวกับการสอนโฟนิกส์จำนวนมากในช่วงปี 2513 ถึง 2543 จากหนังสือของ จีน ชอลล์ ทำให้คณะอ่านแห่งชาติ (National Reading Panel) ของอเมริกา (NRP) ได้รวบรวมและศึกษางานวิจัยที่มีอยู่ในช่วงนั้น และได้ผลการวิจัยว่าการสอนโฟนิกส์ อย่างเป็นระบบช่วยให้เด็กเรียนรู้วิธีอ่านและเขียนภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการออกเสียงที่ไม่เป็นระบบหรือการสอนแบบจำทั้งคำ

ปี 2544 ที่สหรัฐอเมริกา ผู้วิจัยหลักคือ Dr. Linnea C. Ehri เป็นนักวิจัยที่มีชื่อเสียงในด้านการพัฒนาการอ่านและการสอนโฟนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิธีการที่เด็กเรียนรู้และจดจำคำศัพท์ เธอเป็นศาสตราจารย์ที่ City University of New York (CUNY) 

การวิจัยนี้เป็นการสังเคราะห์การศึกษาจำนวนมาก (meta-analysis) เกี่ยวกับประสิทธิผลของการสอนโฟนิกส์ในเด็กเล็ก โดยศึกษาเปรียบเทียบผลของการสอนโฟนิกส์กับวิธีการสอนการอ่านแบบอื่น ๆ 

ผลการวิจัยพบว่าการสอนโฟนิกส์อย่างเป็นระบบช่วยเพิ่มทักษะการอ่านของเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในระดับเริ่มต้นในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่าการสอนที่ไม่ได้ใช้โฟนิกส์อย่างมีระบบ 

การวิจัยนี้ยังสนับสนุนให้การสอนโฟนิกส์เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาอีกด้วย

 

การวิจัยโฟนิกส์ – ยุคใหม่

 

ปี 2556 ที่ประเทศอังกฤษ  Dr. Marlynne Grant นักจิตวิทยาด้านการศึกษาและเป็นกรรมการมูลนิธิการปฏิรูปการอ่านของประเทศอังกฤษ ได้ทำวิจัยทักษะการอ่านจากการสอนโฟนิคส์เป็นระยะเวลา 3 ปีกับเด็กเริ่มเรียนจนถึง 7 ขวบ ป. 2 จำนวน 30 คนในปี 2010 และติดตามการพัฒนาการอ่านของเด็กกลุ่มนี้ถึงปี 2013 จนจบชั้นป. 2 พบว่า

เด็กอายุ 7 ขวบกลุ่มนี้มีความสามารถในการอ่านโดยเฉลี่ยสูงกว่าความสามารถการอ่านตามเกณฑ์อายุของตนถึง 28 เดือน และความสามารถในการสะกดคำโดยเฉลี่ยสูงกว่าความสามารถการสะกดคำตามเกณฑ์อายุของตนถึง 21 เดือน

‘การสอนโฟนิกส์อย่างเป็นระบบเป็นการติดปีกให้เด็กสามารถอ่าน,สะกดคำและเขียนได้ดีอย่างก้าวกระโดด  และมันไม่มีหลักฐานที่แสดงว่าการสอนโฟนิคส์ทำให้เด็ก ‘ปิด (switch off)’ การรักการอ่าน ในทางตรงกันข้าม การสอนโฟนิคส์ทำให้เด็กอ่านได้เร็วขึ้น, มีความมั่นใจในการอ่านและกระตือรือล้นอยากท่องไปในโลกแห่งการอ่าน’ Dr. Grant กล่าว

 

ปี 2558 การวิจัยในประเทศอังกฤษโดย Kathy Rastle พบว่าผลการสอนโฟนิคส์ด้วยวิธีอ่านแจกลูกสะกดคำ (Sounding out words)  ทำให้อ่านถูกต้องมากกว่าการอ่านแบบรวมคำทั้งหมด (Whole word) อย่างชัดเจน

สอนโฟนิกส์ด้วยวิธี sound out words ทำให้อ่านถูกต้องมากกว่า

การวิจัยโฟนิกส์ – ในประเทศไทย

 

ในประเทศไทย การวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษจากอดีตถึงปัจจุบัน ยังคงพบว่านักเรียนอ่านภาษาอังกฤษไม่ออก หรืออ่านได้บ้างตั้งแต่ชั้นประถมจนถึงมัธยมต้น

ปี 2549 พบว่า นักเรียนไม่สามารถอ่านคำ และสะกดตัวอักษรภาษาอังกฤษได้  เนื่องจากผู้เรียนขาดทักษะการอ่าน  การประสมคำ  นักเรียนมีพื้นฐานการเรียนรู้ในระดับชั้นอนุบาลแตกต่างกันจึงไม่ได้ฝึกพื้นฐานการอ่านเท่าที่ควร  นักเรียนจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข

ปี 2553 ได้ทำการวิจัยเรื่องผลการใช้วิธีการสอนแบบโฟนิกส์ต่อความสามารถในการอ่านและเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  พบว่าการสอนโฟนิคส์ทำให้ทักษะการอ่านอังกฤษดีขึ้น  แต่ต้องสอนความรู้ด้านเสียงและตัวอักษรด้วย

ปี 2556 ได้ทำการวิจัยในชั้นเรียน เรื่องการแก้ปัญหานักเรียนขาดทักษะการสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้แบบการเทียบตัวอักษรของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  ผลการวิจัย พบว่า 

1) นักเรียนสามารถเทียบเสียงตัวอักษรภาษาอังกฤษได้ 

2) นักเรียนมีทักษะการสะกดคำศัพท์ได้มากขึ้นเมื่อใช้แบบเทียบตัวอักษร โดยดูจากความถูกต้องในการอ่านแบบทดสอบ 

3) นักเรียนสามารถพัฒนาทักษะการสะกดคำศัพท์ได้ดีขึ้น

ปี 2558 มีการวิจัยที่มีเบื้องหลังว่านักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปี ที่ 2-3 อ่านภาษาอังกฤษไม่ออก เนื่องจากไม่ทราบพื้นฐานของรูปและเสียงสระและพยัญชนะ  ขาดทักษะการเชื่อมโยงตัวอักษรและเสียงเข้าด้วยกัน  เมื่อเปล่งเสียงออกมาไม่ถูกต้องหรือไม่ชัดเจน สะกดคำไม่ถูก ไม่รู้ความหมายของคำที่อ่าน ผสมคำไม่ได้ แยกแยะตัวอักษรไม่ได้  ทำให้นักเรียนมีปัญหาด้านการอ่าน ส่งผลให้กลายเป็นเด็กขาดความมั่นใจ ไม่กล้าแสดงออก มีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาภาษาอังกฤษและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษต่ำ

ปี 2558 มีการวิจัยการพัฒนาทักษะความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษด้วยการสอนโฟนิกส์  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า  

1) การสอนแบบโฟนิคส์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 คุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด  โดยก่อนเรียนมี ค่าเฉลี่ย การอ่านอยู่ที   8.0 หลังจากการเรียนอ่าน โฟนิกมีค่าเฉลี่ย 14.7  

2) ความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษของ กลุ่มที่ไม่ได้สอนโฟนิคส์ และ กลุ่มที่สอนโฟนิคส์ มีผลต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ  

3)  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการสอนโฟนิกอยู่ในระดับมากที่สุด 

ปี 2559 การอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่านักเรียนมีปัญหาในการอ่านสะกดคำไม่ถูกต้อง จึงทำให้เขียนคำศัพท์ไม่ถูกต้อง  เมื่อสอนโฟนิคส์จึงทำให้การอ่านดีขึ้นและสามารถสะกดคำได้อย่างมั่นใจขึ้นมาก

ปี 2563 การวิจัยของ พวงผกา นรินทร์ มุ่งเน้นศึกษาผลของการสอนโฟนิกส์ในกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยนี้เน้นไปที่โรงเรียนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง

– การศึกษาได้ใช้วิธีการสอนโฟนิกส์เป็นระบบในกลุ่มนักเรียนกลุ่มทดลอง และวัดผลการเปลี่ยนแปลงของทักษะการอ่านและการออกเสียงก่อนและหลังการเรียนการสอน

– ผลการวิจัยพบว่า การใช้โฟนิกส์ช่วยพัฒนาทักษะการอ่านและการออกเสียงของนักเรียนได้อย่างมีนัยสำคัญ นักเรียนที่ได้รับการสอนโฟนิกส์มีความสามารถในการจดจำคำศัพท์และออกเสียงได้ดีกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับการสอนแบบนี้

ปี 2564 การวิจัยของ วงเดือน ภูบุญ มุ่งเน้นศึกษาผลของการสอนโฟนิกส์ในกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่มีปัญหาด้านการอ่าน การวิจัยนี้ดำเนินการในโรงเรียนระดับประถมศึกษาในจังหวัดมหาสารคาม

– การศึกษาได้ใช้การสอนโฟนิกส์แบบเข้มข้นในกลุ่มนักเรียนที่มีปัญหาด้านการอ่าน และประเมินผลการเปลี่ยนแปลงของทักษะการอ่านและความสามารถในการจดจำเสียงตัวอักษร

– ผลการวิจัยพบว่า การสอนโฟนิกส์ช่วยให้นักเรียนที่มีปัญหาการอ่านพัฒนาทักษะการอ่านได้ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นักเรียนมีความมั่นใจในการอ่านมากขึ้นและสามารถจดจำเสียงและตัวอักษรได้ดีกว่าเดิม

การวิจัยโฟนิกส์ พบผลการวิจัยที่สำคัญๆดังนี้

 

1. การสอนโฟนิกส์สามารถช่วยให้เด็กเรียนรู้วิธีอ่านได้ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

2. การสอนโฟนิกส์แบบชัดเจนจะให้ประโยชน์ดีกว่าการสอนไม่ชัดเจน

3. เด็กที่อ่านภาษาอังกฤษไม่ได้จะมีทักษะของโฟนิกส์ที่ต่ำและมีกลยุทธ์ในการอ่านน้อย

4. เด็กที่รู้จักอ่านแบบโฟนิกส์จะสามารถถอดรหัสคำได้มาก

5. กระบวนการการอ่านขึ้นอยู่กับความตั้งใจของผู้อ่านแต่ละคำแต่ละตัวอักษรในคำ

6. การสอนโฟนิกส์ช่วยพัฒนาความสามารถในการสะกดคำได้เป็นอย่างดี

การวิจัยเกี่ยวกับโฟนิกส์ (Phonics) ได้ยืนยันว่าโฟนิกส์เป็นวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาทักษะการอ่านของเด็ก โดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้นของการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ การสอนโฟนิกส์อย่างเป็นระบบช่วยให้เด็กเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างเสียงและตัวอักษร ทำให้พวกเขาสามารถอ่านคำศัพท์ใหม่ ๆ ได้อย่างมั่นใจและถูกต้อง

การสอนโฟนิกส์เป็นเครื่องมือที่สำคัญและมีประสิทธิภาพในการพัฒนาทักษะการอ่านของเด็ก ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในห้องเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่ดีขึ้น ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล

หนังสือโฟนิกส์ที่ออกแบบวิธีสอนมาจากการวิจัย Hi! Phonics ครบหลักสูตร 

หนังสือโฟนิกส์ครบหลักสูตร
ตัวอย่างหนังสือ

You cannot copy content of this page